วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของ วารสาร ในประเทศไทย


ความเป็นมาของ "วารสาร " ในประเทศไทย

1. วารสารไทยมีขึ้นครั้งแรกในปลายรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2387 โดย แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารี ชาวอเมริกัน ชื่อ "Bangkok Recorder" และในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2401 ออกหนังสือ"ราชกิจจานุเบกษา" แต่วารสารในสมัยแรกเริ่มยังไม่มีลักษณะเป็นวารสารเท่าใดนัก และพิมพ์เผยแพร่อยู่ในวงจำกัด จนกระทั้งพ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีวารสารไทยฉบับแรก ที่ออกโดยคนไทยคือ วารสาร ดรุโณวาท ออกโดยพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์

2. จำนวนวารสารในสมัยต่างๆ มีดังนี้คือ สมัยรัชกาลที่ 3 มี 2 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 4 มี 8 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 5 มี 47 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 6 มี 127 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 7 มี 160 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 8 มี 92 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า 1,200 ฉบับ

3. ลักษณะของวารสารสมัยต่างๆ แตกต่างกันไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ของประเทศ วารสารในสมัยแรกๆ คือช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 วารสารมีลักษณะเป็นหนังสือเล่ม ขนาดเล็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเรียกว่าจดหมายเหตุ หรือหนังสือข่าว ซึ่งพวกนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นวารสารทั้งสิ้น กลุ่มที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ก็มีลักษณะคล้ายกันคือ มีวารสารรายสัปดาห์จำนวนมากเรียกตัวเองว่า หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

4. วารสารสมัยแรกๆ เป็นกิจการของเจ้านายชั้นสูง ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่สามัญชนมากขึ้น จนกระทั้งถึงปัจจุบันมีวารสารที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการของสื่อสารมวลชนคือ สื่อมวลชนมีจุดเริ่มต้นจากชนชั้นสูง พัฒนาไปเป็นสื่อสำหรับมวลชน และพัฒนามาเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะด้านมากขึ้น

5. อายุของวารสารในระยะแรก มักมีอายุไม่ยืนยาว วาสารบางประเภทที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เช่น วารสารเด็ก วารสารผู้หญิง แต่ไม่ค่อยได้รับความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายได้แพร่หลาย ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 2 ปี วารสารต่างๆ เกิดขึ้นตามสภาพทางสังคม เช่น วาสารด้านบันเทิง เริ่มมีในปลายรัชกาลที่ 6 เพราะความนิยมในละครและภาพยนตร์

6. วารสารได้ขยายตัวเพิ่มปริมาณขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบันการดำเนินงานด้านวารสารของเอกชน เป็นลักษณะของธุรกิจเต็มตัว มีการโฆษณาสินค้าจำนวนมาก7. บทบาทหน้าที่ของวารสารไทยเปลี่ยนแปลง มา 3 ระยะคือ ระยะแรกมุ่งให้ความรู้และเพิ่มพูนสติปัญญาแก่ผู้อ่าน มีเรื่องบันเทิงและบริการทางธุรกิจเพียงเล็กน้อย ระยะที่สอง ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นการให้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ระยะที่สาม วารสารเป็นแนวให้ความบันเทิงเริงรมย์ จนถึงปัจจุบันมีลักษณะเป็นแหล่งสารสนเทศ ให้ความบันเทิงและให้ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น

โดย ชานนท์ วชิรบัญชร 5006100078

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น