วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



โบรชัวร์ แผ่นพับ
เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษแผ่นเดียว พิมพ์ข้อความเกี่ยวกับองค์กร โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อเผยแพร่แจกจ่ายกับบุคคลทั่วไป โดยจะมีลักษณะเฉพาะคือ รูปแบบการพิมพ์พับทบไปมาตั้งแต่ 2 ทบขึ้นไป

ระบบที่ใช้ในการพิมพ์ โบรชัวร์ แผ่นพับ
Offset (ออฟเซ็ต)
Laser (เลเซอร์)
โรเนียว

ขนาดมาตรฐาน โบรชัวร์ แผ่นพับ
21 x 29.7 cm
Custom (ตามความต้องการของลูกค้า)

กระดาษที่ใช้ในการผลิต โบรชัวร์ แผ่นพับ
Offset (ออฟเซ็ต)
- ปอนด์ (Bond Paper) 70-310 แกรม
- อาร์ตการ์ด (Art Card Paper-Premium) 90-310 แกรม
- การ์ดขาว (White Card Paper-Premium) 90-310 แกรม

Laser (เลเซอร์)
-ปอนด์ (Bond Paper) 80 แกรม
-อาร์ตการ์ด (Art Card Paper-Premium) 160-310 แกรม
-การ์ดขาว (White Card Paper-Premium) 210-310 แกรม
-กระดาษปก (Cover Paper) 180 แกรม
-กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) 180 แกรม

โรเนียว
-ปอนด์ (Bond Paper) 70-80 แกรม

เทคนิกการพิมพ์พิเศษ สำหรับ โบรชัวร์ แผ่นพับ
Offset (ออฟเซ็ต)
-เคลือบ UV
-เคลือบด้าน / เคลือบมัน
-เคลือบ Soprt UV
-ปั้มนูน
-ปั้มทอง/ ปั้มเงิน / ปั้มสีพิเศษ
-สีพิเศษ (สีสะท้อนแสง สีเฉพาะ)
- พับ (Fold)
- ตัดมุม
Laser (เลเซอร์)
-ปั้มทอง

จิรวัฒน์ โกษีกุล 5006100068

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของ วารสาร ในประเทศไทย


ความเป็นมาของ "วารสาร " ในประเทศไทย

1. วารสารไทยมีขึ้นครั้งแรกในปลายรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2387 โดย แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารี ชาวอเมริกัน ชื่อ "Bangkok Recorder" และในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2401 ออกหนังสือ"ราชกิจจานุเบกษา" แต่วารสารในสมัยแรกเริ่มยังไม่มีลักษณะเป็นวารสารเท่าใดนัก และพิมพ์เผยแพร่อยู่ในวงจำกัด จนกระทั้งพ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีวารสารไทยฉบับแรก ที่ออกโดยคนไทยคือ วารสาร ดรุโณวาท ออกโดยพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์

2. จำนวนวารสารในสมัยต่างๆ มีดังนี้คือ สมัยรัชกาลที่ 3 มี 2 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 4 มี 8 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 5 มี 47 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 6 มี 127 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 7 มี 160 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 8 มี 92 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า 1,200 ฉบับ

3. ลักษณะของวารสารสมัยต่างๆ แตกต่างกันไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ของประเทศ วารสารในสมัยแรกๆ คือช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 วารสารมีลักษณะเป็นหนังสือเล่ม ขนาดเล็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเรียกว่าจดหมายเหตุ หรือหนังสือข่าว ซึ่งพวกนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นวารสารทั้งสิ้น กลุ่มที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ก็มีลักษณะคล้ายกันคือ มีวารสารรายสัปดาห์จำนวนมากเรียกตัวเองว่า หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

4. วารสารสมัยแรกๆ เป็นกิจการของเจ้านายชั้นสูง ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่สามัญชนมากขึ้น จนกระทั้งถึงปัจจุบันมีวารสารที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการของสื่อสารมวลชนคือ สื่อมวลชนมีจุดเริ่มต้นจากชนชั้นสูง พัฒนาไปเป็นสื่อสำหรับมวลชน และพัฒนามาเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะด้านมากขึ้น

5. อายุของวารสารในระยะแรก มักมีอายุไม่ยืนยาว วาสารบางประเภทที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เช่น วารสารเด็ก วารสารผู้หญิง แต่ไม่ค่อยได้รับความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายได้แพร่หลาย ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 2 ปี วารสารต่างๆ เกิดขึ้นตามสภาพทางสังคม เช่น วาสารด้านบันเทิง เริ่มมีในปลายรัชกาลที่ 6 เพราะความนิยมในละครและภาพยนตร์

6. วารสารได้ขยายตัวเพิ่มปริมาณขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบันการดำเนินงานด้านวารสารของเอกชน เป็นลักษณะของธุรกิจเต็มตัว มีการโฆษณาสินค้าจำนวนมาก7. บทบาทหน้าที่ของวารสารไทยเปลี่ยนแปลง มา 3 ระยะคือ ระยะแรกมุ่งให้ความรู้และเพิ่มพูนสติปัญญาแก่ผู้อ่าน มีเรื่องบันเทิงและบริการทางธุรกิจเพียงเล็กน้อย ระยะที่สอง ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นการให้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ระยะที่สาม วารสารเป็นแนวให้ความบันเทิงเริงรมย์ จนถึงปัจจุบันมีลักษณะเป็นแหล่งสารสนเทศ ให้ความบันเทิงและให้ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น

โดย ชานนท์ วชิรบัญชร 5006100078

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

.....คุณสมบัติคน...Jr




...............ต้องเป็นคนช่างสังเกตุ ( ตาดู หูฟัง )...................
....................ต้องเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์....................
................ต้องชอบหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัว..................
....................ต้องกล้าพูดกล้าเจรจา..................................
................ต้องกล้าถามหากมีเรื่องสงสัย...........................
...................ต้องใส่ใจทุกรายละเอียด...............................
.................ต้องเบียดเสียดฝูงชนได้ (หน่วยกล้าตาย )...........
...................ต้องมีทักษะในการเขียน................................
.................ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน...............
(เรียกได้ว่า มีเหตุเกิดที่ไหนเรา Jrต้องรู้และมีส่วนร่วมเล่าเรื่องในเหตุการณ์ได้)
............ต้องขยันที่จะออกพื้นที่หาข่าว.................................
..........เสนอเรื่องราว ตรงไปตรงมา เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่าย..........

น.ส.สุกัญญา คล่องสืบข่าว 4906100007

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

จะยากมั้ย..? กับการเขียนสารคดี

จุดเริ่มต้นของการเขียนสารคดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงขั้นตอนของการเขียนเสียก่อน ซึ่งจะทำให้งานเขียนเป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบผลสำเร็จในที่สุด ค่ะ ซึ่งขั้นตอนการเขียนสารคดีก็มีหลายขั้นตอน ดังนี้ค่

1.ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน การตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นของการเขียสารคดี ทั้งนี้เพราะการเขียนสารคดีแต่ละเรื่อง ผู้เขียนย่อมมีจุดมุ่งหมายในการเขียนแตกต่างกันออกไป เช่น สารคดีบางเรื่องมีจุดมุ่งหมายเขียนเพื่อสำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่อ่าน ทั้งนี้เมื่อสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการสื่อสารได้แล้ว ก็จะมากลั่นกรองถึงเนื้อหา ภาษา และประเด็นในการนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน เป็นต้น

2.การเลือกเรื่อง หลังจากที่ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปก็เป็นการเลือกเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีจะมีหลักเกณฑ์ที่ต้องพิจารณา หลายประการ 2.1 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความถนัดและให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ 2.2 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ 2.3 เลือกเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน 2.4 เลือกเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคม กลุ่มคน 2.5 อื่นๆ ตามที่ผู้เขียนจะพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเขียนเผยแพร่

3. มองหาเนื้อเรื่องที่จะเขียน บางครั้งผู้เขียนสามารถเลือกเรื่องได้แล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีเนื้อเรื่องที่จะเขียน ทั้งนี้วิธีง่ายๆ ที่จะมองหาเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีนั้นขอให้นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และรู้เรื่องนั้นดีที่สุดมาเขียนให้ผู้อื่นได้อ่าน

4. การตั้งชื่อเรื่อง หลังจากได้เนื้อเรื่องมาแล้ว ให้คิดตั้งชื่อเรื่องเป็นอันดับแรก เพราะเหตุว่าชื่อเรื่องจะเป็นแนวกำหนดหรือเป็นแนวความคิดรวบยอดให้ทราบว่าเรากำลังจะเขียนสารคดีไปในแนวทางไหนซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

5. การรวบรวมข้อมูล เมื่อสามารถกำหนดหัวชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการเขียนสารคดี โดยข้อมูลที่ได้มาจาก 2 แห่ง คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) คือ ข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดของเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนประสบมาโดยตรง ด้วยการสนทนา สอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น และข้อมูลทุติยะภูมิ (secondary source) คือ ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงนับว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี

6. การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดว่าเรื่องที่เขียนนั้นจะเขียนถึงอะไรบ้าง มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ คือ ความนำ (introduction) ต้องขึ้นต้นให้น่าสนใจ ,เนื้อเรื่อง (body or text) ต้องมีความหมายน่ารู้ น่าศึกษา สรุปเรื่อง (conclusion) ต้องตรงประเด็น

7. การลงมือเขียน เป็นขั้นฝึกปฏิบัติด้วยการลงมือเขียน ทั้งนี้สารคดีจะน่าอ่านหรือไม่น่าอ่านนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การใช้ภาษาเป็นสำคัญ และภาษาที่ใช้ในงานเขียนสารคดีจะต้องเป็นภาษาแบบแผนซึ่งมีลักษณะ เป็นคำสุภาพ , ใช้ภาษาที่มีศักดิ์ของคำในระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาแสลงเข้ามาใช้ปะปนในงานเขียน, ไม่มีการตัดหรือลดทอนรูปประโยค, น้ำเสียงของคำจะมีลักษณะเคร่งขรึมเป็นกลาง ไม่ตลกขบขัน ไม่เยาะเย้ย ถากถาง ภาษาต้องไม่แสดงออกถึงความรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นโวหาร ยืดเยื้อ รวมทั้งมีความเคร่งครัดและรักษามาตรฐานของภาษา




เขียนโดย จุฑามาส ชัยเมือง 4906100040

วิชาเอกของสาขาวารสารศาตร์

::วิชาเอก::

::สาขาวารสารศาตร์ ที่จำเป็นที่จะต้องเรียน



1.กราฟิกเพื่องานวารสารศาตร์
:: ทฤษฎีการออกแบบ จัดหน้า การใช้ตัวอักษร การใช้สี องค์ประกอบศิลป์ และฝึกปฏิบัติการกราฟิกเพื่อสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออนไลน์


2.การรายงานข่าวขั้นสูง
:: เทคนิคการรายงานข่าวขั้นสูง ประกอบด้วย การรายงานข่าวแบบตีความ และการรายงานข่าวแบบข่าวสืบสวน โดยฝึกทักษะ การทำความเข้าใจและการตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการรายงานข่าวขั้นสูง
ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม


3.การเขียนเชิงวารสารศาสตร์
:: แนวคิด หลักการเขียน ฝึกทักษะการเขียนเชิงวารสารศาสตร์ประเภทต่างๆ โดยนึกฝึกทักษะกระบวนการเขียน


4.การจัดการธุรกิจวารสารศาสตร์
:: ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ การจัดองค์กร การกำหนดนโยบาย แผนงาน การบริงานกองบรรณาธิการ
การบริหารการเงินและงบประมาณ


5.การบรรณาธิกรณ์และการผลิตหนังสือพิมพ์
:: หลักการจัดทำหนังสือพิมพ์ วิธีการคัดเลือกข่าว บทความ คอลัมน์ และภาพประกอบ การเขียนพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษร และการฝึกปฏิบัติผลิตหนังสือพิมพ์


6.การบรรณาธิกรณ์และการผลิตนิตยสาร
:: หลักในการจัดทำนิตยสาร การเลือกบทความ คอลัมน์ เนื้อหาต่างๆ และภาพประกอบในรูปแบบนิตยสาร รวมทั้งการตกแต่งต้นฉบับ การตั้งชื่อเรื่อง การสั่งตัวพิมพ์ การพิสูจน์อักษร ฝึกภาคปฏิบัติโดยมีการจัดทีมงานเพื่อการบริหาร การผลิตและการจัดจำหน่าย


7.การสร้างสื่อวารสารศาสตร์ออนไลน์
:: รูปแบบและวิธีการเขียนลักษณะต่างๆที่นำเสนอบนสื่อออนไลน์ ในรูปแบบของข่าว บทความ บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ สารคดี รวมทั้งหลักในการจัดทำวารสารศาสตร์สื่อออนไลน์ และฝึกสร้างเว็บเพจโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ


8. การวิจัยประยุกต์ทางวารสารศาสตร์
:: วิจัยประยุกต์โดยนำทฤษฎี แนวคิด กระบวนการและเทคนิคการวิจัยทางนิเทศศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในงานวารสารศาสตร์ประเภทของของการวิจัยและการใช้ประโยชน์ การวิจัยเชิงารวจความคิดเห็น
การวิจัยเชิงสำรวจผู้อ่าน


9. สัมนาวารสารศาสตร์กับสังคม
:: ศึกษาวิเคราะห์และวิพากษ์บทหน้าที่ของวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์ทุกประเภท ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสังคมในด้านความรับผิดชอบและจริยธรรมของวิชาชีพ


10. ประสบการณ์วิชาชีพ
:: ฝึกงานกับองค์กรวารสารศาสตร์ โดยมีชั่วโมงฝึกงานไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง


11. สหกิจศึกษา
:: การปฏิบัติงานในสถานที่ประกอบ โดยให้นักศึกษาระดับชั้นปีที่4 ไปปกิบัติฝึกงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือในฐานะพนักงานชั่วคราว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์




น.ส. สมิตา สุริยะมณี 4906100098

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การถ่ายภาพข่าวของวารสารศาสตร์

วิชาการบรรณาธิกรณ์ภาพข่าวเราสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดถ้าเรามีความสามารถในทางด้านถ่าย ภาพ วิชานี้จะสอนหลักการคัดเลือกภาพที่ดีเพื่อนำเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ แล้วยังสอนทฤษฎีผลการวิจัยเกี่ยวกับภาพข่าวและคุณลักษณะจริยธรรมของช่างภาพวารสารศาสตร์



ความสำคัญของภาพข่าว

ภาพข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์มีความสำคัญมาก คนอ่านหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะนิยมดูภาพก่อนมากที่สุด เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพจึงมีความสำคัญมากสามารถสรุปความสำคัญของภาพได้ดังนี้






- สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ดีกว่าการเสนอแต่ตัวหนังสือ

- ทำให้หน้าหนังสือพิมพ์สวยงาม น่าอ่าน

- ทำให้มีความน่าเชื่อถือต่อเรื่องที่นำเสนอยิ่งขึ้น

- ทำให้เห็นภาพพจน์ได้ง่าย ทั้งบรรยากาศ อารมณ์ ความรู้สึกของบุคคลและสถานที่

- เป็นสื่อสากลที่คนทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ ทุกวัย เข้าใจตรงกันได้ง่าย

- ใช้เป็นหลักฐานได้

- ส่งเสริมการอ่าน

- กระตุ้นให้บุคคลมีความรู้สึกใกล้ชิดกับบุคคลหรือเหตุการณ์ในข่าวมากขึ้น

- ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และเพิ่มความหมายของเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น

- ทำให้ข่าวหรือเรื่องราวมีคุณค่า


เขียนโดย น.ส. พัทธ์ธีรา ทองมี 5106100022

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อัมพวา...เฮฮา และ เหนื่อยใจ

เมื่อระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมานั้น ชาว JR ณ UTCC ของเรานั้นได้ออกเดินทางเพื่อทำหนังสือพิมพ์ครั้งแรกในชีวิต......
พวกเรานั้นได้ออกนอกสถานที่ซึ่งเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น ตื่นตา และตื่นใจ(เข้าใจว่าจะได้ไปเที่ยวนั้นเอง)เมื่อไปถึงนั้นต่างก็พากันชิวมากๆๆๆๆๆๆ  โดยส่วนตัวนั้นอยากจะไปตลาดน้ำท่าเดียว เพราะไม่เคยไป แต่ผิดคลาดเมื่อเราไปถึงจริงๆๆนั้นเวลาเราไม่ค่อยจะมี ถ้าอยากเดินตลาดน้ำก็ต้องอาสาไปหาข่าวถึงจะได้ออกไป  เฮ้อ การที่เราคิดว่าการทำหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องที่ง่ายนั้น "คิดผิด"เพราะการทำหนังสือพิมพ์(เล็ก)ที่อัมพวานั้นเป็นเพียงแค่ ออร์เดิฟเรียกน้ำย่อยก่อนทำหนังสือพิมพ์ใหญ่เท่านั้นเอง
ส่วนเรื่องเวลาที่อัมพวานั้นมีค่าทุกนาที...รีรอไม่ได้ อย่าชะล่าใจว่าแป็บเดียวก็เสร็จเพราะมันไม่ใช่เลย...เนื่องจากเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม เราจะต้องปิดต้นฉบับและรูปเล่มเสร็จสมบูรณ์ ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่เร้าใจ(55+)มากเลยก็ว่าได้ มีคอมเครื่องเดียวได้แต่ยืนลุ้น ทำอะไรก็ไม่ได้ได้แค่มองดูเฉยๆอย่างห่างๆ

แต่เมื่อหนังสือพิมพ์(เล็ก)ออกมาแล้วคะเเนนก็ออกตามมาด้วย เป็นที่รู้กัน... และในคืนนั้นกลุ่มของข้าพเจ้านั้นก็นับเลขกันจนถึงเช้า ไม่หลับไม่นอน ออกไปทานอาหารเช้าโดยไม่พักผ่อน และเตรียมตัวกลับบ้าน
  
.............ความทรงจำ................หนังสือพิมพ์(เล็ก)............อัมพวา..................JR@Utcc

 



นางสาวชุติมา  งามอุรุเลิศ 4906100080