วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



โบรชัวร์ แผ่นพับ
เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษแผ่นเดียว พิมพ์ข้อความเกี่ยวกับองค์กร โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อเผยแพร่แจกจ่ายกับบุคคลทั่วไป โดยจะมีลักษณะเฉพาะคือ รูปแบบการพิมพ์พับทบไปมาตั้งแต่ 2 ทบขึ้นไป

ระบบที่ใช้ในการพิมพ์ โบรชัวร์ แผ่นพับ
Offset (ออฟเซ็ต)
Laser (เลเซอร์)
โรเนียว

ขนาดมาตรฐาน โบรชัวร์ แผ่นพับ
21 x 29.7 cm
Custom (ตามความต้องการของลูกค้า)

กระดาษที่ใช้ในการผลิต โบรชัวร์ แผ่นพับ
Offset (ออฟเซ็ต)
- ปอนด์ (Bond Paper) 70-310 แกรม
- อาร์ตการ์ด (Art Card Paper-Premium) 90-310 แกรม
- การ์ดขาว (White Card Paper-Premium) 90-310 แกรม

Laser (เลเซอร์)
-ปอนด์ (Bond Paper) 80 แกรม
-อาร์ตการ์ด (Art Card Paper-Premium) 160-310 แกรม
-การ์ดขาว (White Card Paper-Premium) 210-310 แกรม
-กระดาษปก (Cover Paper) 180 แกรม
-กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) 180 แกรม

โรเนียว
-ปอนด์ (Bond Paper) 70-80 แกรม

เทคนิกการพิมพ์พิเศษ สำหรับ โบรชัวร์ แผ่นพับ
Offset (ออฟเซ็ต)
-เคลือบ UV
-เคลือบด้าน / เคลือบมัน
-เคลือบ Soprt UV
-ปั้มนูน
-ปั้มทอง/ ปั้มเงิน / ปั้มสีพิเศษ
-สีพิเศษ (สีสะท้อนแสง สีเฉพาะ)
- พับ (Fold)
- ตัดมุม
Laser (เลเซอร์)
-ปั้มทอง

จิรวัฒน์ โกษีกุล 5006100068

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของ วารสาร ในประเทศไทย


ความเป็นมาของ "วารสาร " ในประเทศไทย

1. วารสารไทยมีขึ้นครั้งแรกในปลายรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2387 โดย แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารี ชาวอเมริกัน ชื่อ "Bangkok Recorder" และในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2401 ออกหนังสือ"ราชกิจจานุเบกษา" แต่วารสารในสมัยแรกเริ่มยังไม่มีลักษณะเป็นวารสารเท่าใดนัก และพิมพ์เผยแพร่อยู่ในวงจำกัด จนกระทั้งพ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีวารสารไทยฉบับแรก ที่ออกโดยคนไทยคือ วารสาร ดรุโณวาท ออกโดยพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์

2. จำนวนวารสารในสมัยต่างๆ มีดังนี้คือ สมัยรัชกาลที่ 3 มี 2 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 4 มี 8 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 5 มี 47 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 6 มี 127 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 7 มี 160 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 8 มี 92 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า 1,200 ฉบับ

3. ลักษณะของวารสารสมัยต่างๆ แตกต่างกันไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ของประเทศ วารสารในสมัยแรกๆ คือช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 วารสารมีลักษณะเป็นหนังสือเล่ม ขนาดเล็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเรียกว่าจดหมายเหตุ หรือหนังสือข่าว ซึ่งพวกนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นวารสารทั้งสิ้น กลุ่มที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ก็มีลักษณะคล้ายกันคือ มีวารสารรายสัปดาห์จำนวนมากเรียกตัวเองว่า หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

4. วารสารสมัยแรกๆ เป็นกิจการของเจ้านายชั้นสูง ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่สามัญชนมากขึ้น จนกระทั้งถึงปัจจุบันมีวารสารที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการของสื่อสารมวลชนคือ สื่อมวลชนมีจุดเริ่มต้นจากชนชั้นสูง พัฒนาไปเป็นสื่อสำหรับมวลชน และพัฒนามาเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะด้านมากขึ้น

5. อายุของวารสารในระยะแรก มักมีอายุไม่ยืนยาว วาสารบางประเภทที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เช่น วารสารเด็ก วารสารผู้หญิง แต่ไม่ค่อยได้รับความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายได้แพร่หลาย ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 2 ปี วารสารต่างๆ เกิดขึ้นตามสภาพทางสังคม เช่น วาสารด้านบันเทิง เริ่มมีในปลายรัชกาลที่ 6 เพราะความนิยมในละครและภาพยนตร์

6. วารสารได้ขยายตัวเพิ่มปริมาณขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบันการดำเนินงานด้านวารสารของเอกชน เป็นลักษณะของธุรกิจเต็มตัว มีการโฆษณาสินค้าจำนวนมาก7. บทบาทหน้าที่ของวารสารไทยเปลี่ยนแปลง มา 3 ระยะคือ ระยะแรกมุ่งให้ความรู้และเพิ่มพูนสติปัญญาแก่ผู้อ่าน มีเรื่องบันเทิงและบริการทางธุรกิจเพียงเล็กน้อย ระยะที่สอง ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นการให้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ระยะที่สาม วารสารเป็นแนวให้ความบันเทิงเริงรมย์ จนถึงปัจจุบันมีลักษณะเป็นแหล่งสารสนเทศ ให้ความบันเทิงและให้ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น

โดย ชานนท์ วชิรบัญชร 5006100078

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

.....คุณสมบัติคน...Jr




...............ต้องเป็นคนช่างสังเกตุ ( ตาดู หูฟัง )...................
....................ต้องเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์....................
................ต้องชอบหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัว..................
....................ต้องกล้าพูดกล้าเจรจา..................................
................ต้องกล้าถามหากมีเรื่องสงสัย...........................
...................ต้องใส่ใจทุกรายละเอียด...............................
.................ต้องเบียดเสียดฝูงชนได้ (หน่วยกล้าตาย )...........
...................ต้องมีทักษะในการเขียน................................
.................ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน...............
(เรียกได้ว่า มีเหตุเกิดที่ไหนเรา Jrต้องรู้และมีส่วนร่วมเล่าเรื่องในเหตุการณ์ได้)
............ต้องขยันที่จะออกพื้นที่หาข่าว.................................
..........เสนอเรื่องราว ตรงไปตรงมา เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่าย..........

น.ส.สุกัญญา คล่องสืบข่าว 4906100007

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

จะยากมั้ย..? กับการเขียนสารคดี

จุดเริ่มต้นของการเขียนสารคดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงขั้นตอนของการเขียนเสียก่อน ซึ่งจะทำให้งานเขียนเป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบผลสำเร็จในที่สุด ค่ะ ซึ่งขั้นตอนการเขียนสารคดีก็มีหลายขั้นตอน ดังนี้ค่

1.ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน การตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นของการเขียสารคดี ทั้งนี้เพราะการเขียนสารคดีแต่ละเรื่อง ผู้เขียนย่อมมีจุดมุ่งหมายในการเขียนแตกต่างกันออกไป เช่น สารคดีบางเรื่องมีจุดมุ่งหมายเขียนเพื่อสำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่อ่าน ทั้งนี้เมื่อสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการสื่อสารได้แล้ว ก็จะมากลั่นกรองถึงเนื้อหา ภาษา และประเด็นในการนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน เป็นต้น

2.การเลือกเรื่อง หลังจากที่ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปก็เป็นการเลือกเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีจะมีหลักเกณฑ์ที่ต้องพิจารณา หลายประการ 2.1 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความถนัดและให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ 2.2 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ 2.3 เลือกเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน 2.4 เลือกเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคม กลุ่มคน 2.5 อื่นๆ ตามที่ผู้เขียนจะพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเขียนเผยแพร่

3. มองหาเนื้อเรื่องที่จะเขียน บางครั้งผู้เขียนสามารถเลือกเรื่องได้แล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีเนื้อเรื่องที่จะเขียน ทั้งนี้วิธีง่ายๆ ที่จะมองหาเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีนั้นขอให้นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และรู้เรื่องนั้นดีที่สุดมาเขียนให้ผู้อื่นได้อ่าน

4. การตั้งชื่อเรื่อง หลังจากได้เนื้อเรื่องมาแล้ว ให้คิดตั้งชื่อเรื่องเป็นอันดับแรก เพราะเหตุว่าชื่อเรื่องจะเป็นแนวกำหนดหรือเป็นแนวความคิดรวบยอดให้ทราบว่าเรากำลังจะเขียนสารคดีไปในแนวทางไหนซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

5. การรวบรวมข้อมูล เมื่อสามารถกำหนดหัวชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการเขียนสารคดี โดยข้อมูลที่ได้มาจาก 2 แห่ง คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) คือ ข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดของเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนประสบมาโดยตรง ด้วยการสนทนา สอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น และข้อมูลทุติยะภูมิ (secondary source) คือ ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงนับว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี

6. การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดว่าเรื่องที่เขียนนั้นจะเขียนถึงอะไรบ้าง มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ คือ ความนำ (introduction) ต้องขึ้นต้นให้น่าสนใจ ,เนื้อเรื่อง (body or text) ต้องมีความหมายน่ารู้ น่าศึกษา สรุปเรื่อง (conclusion) ต้องตรงประเด็น

7. การลงมือเขียน เป็นขั้นฝึกปฏิบัติด้วยการลงมือเขียน ทั้งนี้สารคดีจะน่าอ่านหรือไม่น่าอ่านนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การใช้ภาษาเป็นสำคัญ และภาษาที่ใช้ในงานเขียนสารคดีจะต้องเป็นภาษาแบบแผนซึ่งมีลักษณะ เป็นคำสุภาพ , ใช้ภาษาที่มีศักดิ์ของคำในระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาแสลงเข้ามาใช้ปะปนในงานเขียน, ไม่มีการตัดหรือลดทอนรูปประโยค, น้ำเสียงของคำจะมีลักษณะเคร่งขรึมเป็นกลาง ไม่ตลกขบขัน ไม่เยาะเย้ย ถากถาง ภาษาต้องไม่แสดงออกถึงความรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นโวหาร ยืดเยื้อ รวมทั้งมีความเคร่งครัดและรักษามาตรฐานของภาษา




เขียนโดย จุฑามาส ชัยเมือง 4906100040

วิชาเอกของสาขาวารสารศาตร์

::วิชาเอก::

::สาขาวารสารศาตร์ ที่จำเป็นที่จะต้องเรียน



1.กราฟิกเพื่องานวารสารศาตร์
:: ทฤษฎีการออกแบบ จัดหน้า การใช้ตัวอักษร การใช้สี องค์ประกอบศิลป์ และฝึกปฏิบัติการกราฟิกเพื่อสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออนไลน์


2.การรายงานข่าวขั้นสูง
:: เทคนิคการรายงานข่าวขั้นสูง ประกอบด้วย การรายงานข่าวแบบตีความ และการรายงานข่าวแบบข่าวสืบสวน โดยฝึกทักษะ การทำความเข้าใจและการตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการรายงานข่าวขั้นสูง
ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม


3.การเขียนเชิงวารสารศาสตร์
:: แนวคิด หลักการเขียน ฝึกทักษะการเขียนเชิงวารสารศาสตร์ประเภทต่างๆ โดยนึกฝึกทักษะกระบวนการเขียน


4.การจัดการธุรกิจวารสารศาสตร์
:: ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ การจัดองค์กร การกำหนดนโยบาย แผนงาน การบริงานกองบรรณาธิการ
การบริหารการเงินและงบประมาณ


5.การบรรณาธิกรณ์และการผลิตหนังสือพิมพ์
:: หลักการจัดทำหนังสือพิมพ์ วิธีการคัดเลือกข่าว บทความ คอลัมน์ และภาพประกอบ การเขียนพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษร และการฝึกปฏิบัติผลิตหนังสือพิมพ์


6.การบรรณาธิกรณ์และการผลิตนิตยสาร
:: หลักในการจัดทำนิตยสาร การเลือกบทความ คอลัมน์ เนื้อหาต่างๆ และภาพประกอบในรูปแบบนิตยสาร รวมทั้งการตกแต่งต้นฉบับ การตั้งชื่อเรื่อง การสั่งตัวพิมพ์ การพิสูจน์อักษร ฝึกภาคปฏิบัติโดยมีการจัดทีมงานเพื่อการบริหาร การผลิตและการจัดจำหน่าย


7.การสร้างสื่อวารสารศาสตร์ออนไลน์
:: รูปแบบและวิธีการเขียนลักษณะต่างๆที่นำเสนอบนสื่อออนไลน์ ในรูปแบบของข่าว บทความ บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ สารคดี รวมทั้งหลักในการจัดทำวารสารศาสตร์สื่อออนไลน์ และฝึกสร้างเว็บเพจโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ


8. การวิจัยประยุกต์ทางวารสารศาสตร์
:: วิจัยประยุกต์โดยนำทฤษฎี แนวคิด กระบวนการและเทคนิคการวิจัยทางนิเทศศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในงานวารสารศาสตร์ประเภทของของการวิจัยและการใช้ประโยชน์ การวิจัยเชิงารวจความคิดเห็น
การวิจัยเชิงสำรวจผู้อ่าน


9. สัมนาวารสารศาสตร์กับสังคม
:: ศึกษาวิเคราะห์และวิพากษ์บทหน้าที่ของวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์ทุกประเภท ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสังคมในด้านความรับผิดชอบและจริยธรรมของวิชาชีพ


10. ประสบการณ์วิชาชีพ
:: ฝึกงานกับองค์กรวารสารศาสตร์ โดยมีชั่วโมงฝึกงานไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง


11. สหกิจศึกษา
:: การปฏิบัติงานในสถานที่ประกอบ โดยให้นักศึกษาระดับชั้นปีที่4 ไปปกิบัติฝึกงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือในฐานะพนักงานชั่วคราว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์




น.ส. สมิตา สุริยะมณี 4906100098

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การถ่ายภาพข่าวของวารสารศาสตร์

วิชาการบรรณาธิกรณ์ภาพข่าวเราสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดถ้าเรามีความสามารถในทางด้านถ่าย ภาพ วิชานี้จะสอนหลักการคัดเลือกภาพที่ดีเพื่อนำเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ แล้วยังสอนทฤษฎีผลการวิจัยเกี่ยวกับภาพข่าวและคุณลักษณะจริยธรรมของช่างภาพวารสารศาสตร์



ความสำคัญของภาพข่าว

ภาพข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์มีความสำคัญมาก คนอ่านหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะนิยมดูภาพก่อนมากที่สุด เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพจึงมีความสำคัญมากสามารถสรุปความสำคัญของภาพได้ดังนี้






- สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ดีกว่าการเสนอแต่ตัวหนังสือ

- ทำให้หน้าหนังสือพิมพ์สวยงาม น่าอ่าน

- ทำให้มีความน่าเชื่อถือต่อเรื่องที่นำเสนอยิ่งขึ้น

- ทำให้เห็นภาพพจน์ได้ง่าย ทั้งบรรยากาศ อารมณ์ ความรู้สึกของบุคคลและสถานที่

- เป็นสื่อสากลที่คนทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ ทุกวัย เข้าใจตรงกันได้ง่าย

- ใช้เป็นหลักฐานได้

- ส่งเสริมการอ่าน

- กระตุ้นให้บุคคลมีความรู้สึกใกล้ชิดกับบุคคลหรือเหตุการณ์ในข่าวมากขึ้น

- ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และเพิ่มความหมายของเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น

- ทำให้ข่าวหรือเรื่องราวมีคุณค่า


เขียนโดย น.ส. พัทธ์ธีรา ทองมี 5106100022

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อัมพวา...เฮฮา และ เหนื่อยใจ

เมื่อระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมานั้น ชาว JR ณ UTCC ของเรานั้นได้ออกเดินทางเพื่อทำหนังสือพิมพ์ครั้งแรกในชีวิต......
พวกเรานั้นได้ออกนอกสถานที่ซึ่งเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น ตื่นตา และตื่นใจ(เข้าใจว่าจะได้ไปเที่ยวนั้นเอง)เมื่อไปถึงนั้นต่างก็พากันชิวมากๆๆๆๆๆๆ  โดยส่วนตัวนั้นอยากจะไปตลาดน้ำท่าเดียว เพราะไม่เคยไป แต่ผิดคลาดเมื่อเราไปถึงจริงๆๆนั้นเวลาเราไม่ค่อยจะมี ถ้าอยากเดินตลาดน้ำก็ต้องอาสาไปหาข่าวถึงจะได้ออกไป  เฮ้อ การที่เราคิดว่าการทำหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องที่ง่ายนั้น "คิดผิด"เพราะการทำหนังสือพิมพ์(เล็ก)ที่อัมพวานั้นเป็นเพียงแค่ ออร์เดิฟเรียกน้ำย่อยก่อนทำหนังสือพิมพ์ใหญ่เท่านั้นเอง
ส่วนเรื่องเวลาที่อัมพวานั้นมีค่าทุกนาที...รีรอไม่ได้ อย่าชะล่าใจว่าแป็บเดียวก็เสร็จเพราะมันไม่ใช่เลย...เนื่องจากเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม เราจะต้องปิดต้นฉบับและรูปเล่มเสร็จสมบูรณ์ ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่เร้าใจ(55+)มากเลยก็ว่าได้ มีคอมเครื่องเดียวได้แต่ยืนลุ้น ทำอะไรก็ไม่ได้ได้แค่มองดูเฉยๆอย่างห่างๆ

แต่เมื่อหนังสือพิมพ์(เล็ก)ออกมาแล้วคะเเนนก็ออกตามมาด้วย เป็นที่รู้กัน... และในคืนนั้นกลุ่มของข้าพเจ้านั้นก็นับเลขกันจนถึงเช้า ไม่หลับไม่นอน ออกไปทานอาหารเช้าโดยไม่พักผ่อน และเตรียมตัวกลับบ้าน
  
.............ความทรงจำ................หนังสือพิมพ์(เล็ก)............อัมพวา..................JR@Utcc

 



นางสาวชุติมา  งามอุรุเลิศ 4906100080

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คณะนิเทศวารสารศาสตร์มีบุคลากร อาจารย์ผู้สอน ได้แก่ 1 อ.ทรงพร ศรีช่วย 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตนา เมฆนันทไพศิฐ 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤมลวงศ์หาญ 4. อ.โศภน กัณหะเสน 5. อ.อรพรรณ สุทรกลัมพ์ 6. อ.ชื่นกลม ธัญไพบูลย์ 7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวดี นาควานิช 8. อ.ศุภนิตย์ วงศ์ทางสวัสดิ์9.อ.สรลักษณ์ พงษ์โพธิ์ 10.อ.ดร. กันยิกา ชอว์ 11.อ.ดร. มานะ ตรียาภิวัฒน์ 12. อ.นภารัตน์ พฤกษ์สุราลัย 13. อ. ปรัชญา เปี่ยมการุณ
14.อ. วิเชียน ธรรมลา 15.อ.นิษฐา ปั้นจีน 16. อ.สุนทร ปั้นจีน

เขียนโดย ชเนษฎ์ เชาว์วาทิน 4906100009

ห้องปฏิบัติการของสาขาวารสารศาสตร์

ห้องปฏิบัติการที่นักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์หรือที่เรียกกันจนติดปากก็คือห้อง LAP ต้องใช้ในเวลาตลอกหลักสูตรไม่ว่าจะใช้เพื่อเรียนวิชากราฟิกเพื่องานวารสารศาสตร์หรือใช้งานเป็นห้องปฏิบัติการหนังสือพิมพ์และนิตยสารถ้าจะเรียนให้จบหลักสูตรนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ทุกคนจะต้องผ่านห้องนี้เพื่อใช้ทำงาน ห้องปฏิบัติการนี้มีเทคโนโลยีเครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการหนังสือพิมพ์และนิตยสารคือ เครื่อง iMac เจ้าเครื่องนี้ตอนแรกที่ใช้ก็งงๆอยู่เพราะการใช้งานนั้นจะแตกต่างกับเครื่อง PC พอสมควรแต่พอใช้ไปเรื่อยและอาจารย์ก็ได้สอนวีธีการใช้งานตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องจนถึงการใช้โปรแกรมต่างเช่นโปรแกรมIllustrator,PageMaker , และ Photoshop พอเรียนไปเรื่อยก็เริ่มเข้าใจและเริ่มจะชอบ ตอนที่เรียนวิชาการบรรณาธิกรณ์และการผลิตหนังสือพิมพ์ห้องนี้เป็นห้องที่ใช้ทุกวันใช้ตั้งแต่เช้าจนถึง2ทุ่มตลอดการเรียนของวิชานี้ห้องนี้เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองเลยทีเดียวส่วนอีกวิชาหนึ่งคือ CJ 401 การบรรณาธิกรณ์และการผลิตนิตยสาร ก็คงต้องใช้ห้อเรียนห้องนี้เป็นห้องปฏิบัติการอีกเหมือนเคย แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เรียน จะได้เรียนในเทอมหน้า คือปี4 เทอม1 หรือต้องผ่านวิชาCJ 303 การบรรณาธิกรณ์และการผลิตหนังสือพิมพ์มาก่อนถึงจะเรียนวิชานี้ได้

ที่ตั้งของห้องนี้อยู่ที่ อาคาร 7 ชั้น 14 ห้อง 71401จะเป็นห้องปฏิบัติการหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
และก็ อาคาร 7 ชั้น 7-8จะเป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อสิ่งพิมพ์

รายวิชาที่ใช้ห้องปฏิบัติการ :
• CJ 303 การบรรณาธิกรณ์และการผลิตหนังสือพิมพ์
• CJ 401 การบรรณาธิกรณ์และการผลิตนิตยสาร
• CJ 422 การผลิตสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
• CJ 201 กราฟิกเพื่องานวารสารศาสตร์
• CJ 422 การผลิตสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ

สามารถอ่านข้อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/home.htm
http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/labp1.htm
http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/labp2.htm


นางสาวทัศนีย์ เสริมสวัสดิ์ศรี 4906100104

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การันตีคุณภาพ


เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดพิธีมอบรางวัล “พิราบน้อย” และรางวัล “ริต้า ปาติยะเสวี” เนื่องในวันนักข่าวประจำปี 2551 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในระดับอุดมศึกษาโดยหนังสือพิมพ์ “หอข่าว” ของนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับรางวัลพิราบน้อย ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น ข่าว“เตือนภัยคนใจบุญ แก๊งเรี่ยไรเกลื่อนเมือง” พร้อมเงิน 15,000 บาทและโล่ประกาศเกียรติคุณ
นอกจากนี้ข่าว ไฮไฟล์ (Hi5) พระสงฆ์ จากหนังสือพิมพ์หอข่าว ที่เคยได้รับรางวัลปีที่ผ่านมา ยังได้รับรางวัลข่าวด้าน ไอที(IT) ยอดเยี่ยมเพิ่มเติมอีก 1 รางวัล นับเป็นความน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคณะนิเทศศาสตร์ ที่สามารถผลิตนักศึกษาให้มีคุณภาพก่อนจะออกไปพัฒนาสังคมต่อไป และนี่คือสิ่งที่การันตีได้ว่าเรามีบัณฑิตที่มีศักยภาพไม่แพ้ใคร
นางสาวสุวารี ตันบุญยืน 4906100015 ca.1

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

[[ วัดใจปี 3 ]]

กว่าเราจะได้ย่างก้าวสู่ปี3 เราก้อต้องผ่านอุปสรรคนานานับประการ ผ่านร้อนผ่านหนาว และประการด่านสำคัญที่วัดใจเรา ให้ผ่านไปยังประการด่านต่างๆได้อีก นั้นก้อคือ การทำหนังสือพิมพ์ ที่จะต้องทำให้เต็มรูปแบบ ในด้านกระบวนการผลิตต่างๆต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ วิชา ที่อาจารย์สั่งสอนมา ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เกือบจะทุกๆวิชาที่ได้เรียนผ่านมาในปี 1 และปี 2 ได้ถูกนำมาใช้ ถูกนำมาผลิตให้เป็นหนังสือพิมพ์ ที่สมบูรณ์แบบที่สุด .....


และนี้คือโฉมหน้าของหนังสือพิมพ์รุ่นเรา ที่ใส่ใจทำขึ้นมา จนสำเร็จลุล่วง แม้จะมีอุปสรรคมากบ้างน้อยบ้าง แต่นั้นก้อเป็นสิ่งวัดใจที่ทำให้เราได้เรียนรู้ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้....


เขียนโดย น.ส.วัชราภรณ์ จุ้ยกลิ่น 4906100063

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

-- เปิดบ้านวารสารศาสตร์ --


สาขาวารสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โครงสร้างหลักสูตรตลอดการศึกษา 138 หน่วยกิจ ใช้เวลาเรียน 4 ปี หรือ 8 เทอม





สาขาวารสารเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่ง ที่ให้ทั้งข่าวสารวิชาการและความบันเทิงแก่ผู้อ่านอย่างกว้างขวาง และมีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านต่างๆโดยนำเสนอในรูปของสิ่งพิมพ์ต่างๆเช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารเป็นต้น

ปี 1 เป็นปีแห่งการเรียนรวมมิตรทุกรายวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาทุกคนในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต้องเรียน
ด้านหลังของรายวิชาเกือบจะทุกวิชาจะมีคำว่า “เบื้องต้น”ประกอบอยู่ด้วยเช่นวิชานิเทศศาสตร์เบื้องต้น การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น --


ปี 2 เริ่มบอกความเป็นตัวตนของความเป็น วารสาร มากขึ้นๆโดยหลักสูตรวิชาเริ่มมีวิชาเฉพาะสาขาเข้ามาเอี่ยวด้วย คือการถ่ายภาพนิ่ง-และภาพเคลื่อนไหว การสื่อข่าวและการเขียนข่าวเบื้องต้นต่อด้วยกราฟิกเพื่องานวารสารศาสตร์ และการรายงานข่าวขั้นสูง นอกจากนี้นักศึกษาปี 2 ยังมีโอกาสเลือกเรียนวิชาเลือเสรีที่น่าสนใจ
เช่น สัมมนาการสื่อสารกับสังคม มนุษย์สัมพันธ์เป็นต้น


ปี 3 ประกาศตัวตนที่ชัดเจน วิชาในเทอมนี้ก็จะเป็นวิชาในสาขาเกือบทั้งหมด ที่เพิ่มมาก็เป็นวิชาโทที่นักศึกษาทุกคนต้องเลือก ได่แก่

- โทบริหาร
- โทอังกฤษ
- โทเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

ยังไม่หมดเทอมสามนี้มีโปรโมชั่นให้เลือกเรียนวิชาเอกตามความถนัดได้อีก 2 ตัว ได้แก่

- เทคโนโลยีวารสารศาสตร์
- การบรรณาธิกรณ์ภาพข่าว
- ประวัติและพัฒนาการหนังสือพิมพ์ไทย
- การเขียนสารคดี
- วารสารศาสตร์สากล
- การวิเคราะห์ข่าวปัจจุบัน
- กรารายงานข่าวเชิงสืบสวน
- การงานข่าวเศรษฐกิงธุรกิจ
- หัวข้อพิเศษทางวารสารศาสตร์
- การเขียนภาษาอังกฤษเพื่องานวารสาร
- การผลิตสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ


ปี 4 ปีที่รอคอยตอกย้ำความเป็นนักวารสารศาสตร์อย่างเต็มภาคภูมินอกจากจะมีการฝึกงานในเทอม 2 แล้วยังมีหลักสูตรรายวิชาที่เหลืออย่างเข้มข้น เริ่มต้นด้วยการเรียนวิชาการทำนิตยาสาร


เขียนโดย น.ส.จิรฐา มั่นเหมาะ 4906100014